ไฟฟ้าและแม่เหล็ก


ประมาณ 2000 ปีมาแล้ว ชาวกรีกที่อาศัยในเมืองแมกนีเซียได้พบว่าแร่ชนิดหนึ่งสามารถดูดเหล็กได้ จึงเรียกแร่นี้ว่า แมกนีไทต์ และเรียกวัตถุที่ดูดเหล็กได้ว่า แม่เหล็ก ส่วนวัตถุที่แม่เหล็กออกแรงกระทำ เรียกว่า สารแม่เหล็ก

ถ้านำแท่งแม่เหล็กไปดูดผงเหล็ก จะพบว่าปลายแท่งแม่เหล็กมีผงเหล็กหนาแน่นกว่าบริเวณอื่น จึงเรียกบริเวณนี้ว่า ขั้วแม่เหล็ก หากให้แท่งแม่เหล็กหมุนได้อย่างอิสระในแนวราบ แท่งแม่เหล็กจะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้เสมอ ดังรูป 31 ขั้วที่ชี้ไปทางทิศเหนือ เรียก ขั้วเหนือ ขั้วที่ชี้ไปทางทิศใต้ เรียก ขั้วใต้ ใช้อักษร N แทนขั้วเหนือ และ S แทนขั้วใต้
การวางตัวของแท่งแม่เหล็กในแนวเหนือใต้
เมื่อนำขั้วแม่เหล็กของแม่เหล็กสองแท่งเข้าใกล้กัน ขั้วชนิดเดียวกันจะผลักกัน และขั้วต่างกันจะดูดกัน แต่ทั้งขั้วเหนือและขั้วใต้จะดูดสารแม่เหล็ก ในกรณีที่ตัดแท่งแม่เหล็กแท่งหนึ่งเป็นสองแท่ง จะเกิดขั้วแม่เหล็กต่างชนิดตรงปลายที่หักออก ทำให้แต่ละแท่งเป็นแท่งแม่เหล็กแท่งใหม่
สนามแม่เหล็ก
สนามแม่เหล็กเป็นบริเวณรอบ ๆ แท่งแม่เหล็ก ซึ่งมีแรงแม่เหล็กกระทำต่อวัตถุ  ความเข้มและทิศทางของสนามแม่เหล็กแสดงโดยเส้นแรงแม่เหล็ก เส้นแรงแม่เหล็กแสดงให้เห็นได้โดยใช้ผงเหล็กโรยรอบๆ  แท่งแม่เหล็ก  เส้นแรงแม่เหล็กพุ่งจากขั้วเหนือ (N) ของแท่งแม่เหล็ก ไปยังขั้วใต้ (S) โดยที่บริเวณขั้วแม่เหล็กทั้งสองจะมีเส้นสนามแม่เหล็กหนาแน่นมากกว่าที่บริเวณอื่น
ถ้าหันขั้วชนิดเดียวกันเข้าหากัน เส้นสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะมีลักษณะเดียวกันกับการวางตัวของเส้นสนามแม่เหล็ก 1 แท่ง ยกเว้นบริเวณระหว่างขั้วชนิดเดียวกันที่หันเข้าหากันทั้งสองจะไม่มีเส้นสนามแม่เหล็ก เรียกตำแหน่งที่สนามแม่เหล็กเป็นศูนย์ว่า จุดสะเทิน

ถ้าหันขั้วต่างชนิดกันเข้าหากันเส้นสนามแม่เหล็กรอบๆ แท่งแม่เหล็กแต่ละแท่งจะมีลักษณะเดียวกันกับการวางตัวของเส้นสนามแม่เหล็ก 1 แท่ง ส่วนบริเวณระหว่างขั้วต่างชนิดกันที่หันเข้าหากันจะมีเส้นสนามแม่เหล็กโยงเข้าหากัน
สนามแม่เหล็กโลก
เข็มทิศ ซึ่งเป็นแม่เหล็กขนาดเล็กจะวางตัวอยู่ในแนวเหนือใต้เสมอ แสดงว่า โลกมีสนามแม่เหล็ก เรียก สนามแม่เหล็กโลก เส้นสนามแม่เหล็กโลกมีทิศพุ่งออกจากบริเวณขั้วใต้ทางภูมิศาสตร์ไปยังขั้วเหนือทางภูมิศาสตร์ ดังนั้นจึงเสมือนโลกมีแท่งแม่เหล็กขนาดใหญ่ฝังอยู่ภายใน โดยขั้วเหนือของแม่เหล็กโลกอยู่ใกล้ขั้วใต้ทางภูมิศาสตร์ และขั้วใต้ของแม่เหล็กโลกอยู่ใกล้ขั้วเหนือทางภูมิศาสตร์
ฟลักซ์แม่เหล็ก
การศึกษาสนามแม่เหล็กของแท่งแม่เหล็ก พบว่า เส้นสนามแม่เหล็กแผ่ออกจากขั้วเหนือเป็นบริเวณสามมิติ บริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็กทั้งสองจะมีเส้นสนามแม่เหล็กหนาแน่นยิ่งกว่าบริเวณอื่น ถ้าพิจารณาพื้นที่ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก เรียกเส้นสนามแม่เหล็กที่ผ่านพี้นที่นี้ว่า ฟลักซ์แม่เหล็ก พบว่า บริเวณใกล้ขั้วแม่เหล็กจะมีฟลักซ์แม่เหล็กหนาแน่นและฟลักซ์แม่เหล็กจะน้อยลง เมื่ออยู่ห่างขั้วแม่เหล็ก
อัตราส่วนระหว่างฟลักซ์แม่เหล็กต่อพื้นที่ตั้งฉากกับสนามหนึ่งตารางหน่วย เรียกว่า ขนาดของสนามแม่เหล็ก หรือ ความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็ก จะได้ความสัมพันธ์ ดังนี้
การเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าในสนามแม่เหล็ก

เมื่ออิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าลบ เคลื่อนที่ในทิศตั้งฉากกับสนามแม่เหล็กที่มีทิศพุ่งเข้าและตั้งฉากกับกระดาษ แนวการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเบนโค้งลง แสดงว่ามีแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนในทิศลง ดังรูป 32 ก เมื่อกลับทิศของสนามแม่เหล็กแนวการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนจะเบนโค้งขึ้น แสดงว่ามีแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนในทิศขึ้น ดังรูป 32 ข แรงเนื่องจากสนามแม่เหล็กกระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เรียกว่า แรงแม่เหล็ก
รูป 32 แรงและแนวการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสนามแม่เหล็ก
ในการหาทิศของแรงที่กระทำต่ออิเล็กตรอนซึ่งเป็นอนุภาคประจุไฟฟ้าลบ ใช้มือขวา โดยหันนิ้วทั้งสี่ไปทางทิศของความเร็ว วนนิ้วทั้งสี่ไปหาสนามแม่เหล็ก นิ้วหัวแม่มือจะชี้ไปทางทิศตรงข้ามกับทิศของแรง สำหรับการหาทิศของแรงที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าบวก ยังคงใช้มือขวา นิ้วหัวแม่มือจะไปทางทิศของแรง ดังรูป 33
การหาทิศของแรงที่กระทำต่ออนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า
เนื่องจากปริมาณทั้งสามคือความเร็ว สนามแม่เหล็กและแรงมีทิศตั้งฉากกันและกัน พบว่ามีความสัมพันธ์กัน ดังนี้
ในกรณีอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว สนามแม่เหล็ก แรง ที่กระทำต่ออนุภาค จะหาได้จากสมการ
 หรือ ขนาดของแรง ----(16)
เมื่อวิเคราะห์สมการ (16) พบว่าถ้าอนุภาคเคลื่อนที่ในแนวขนานกับสนามแม่เหล็ก (หรือ  เพราะ ) ดังนั้นแรงที่กระทำจะเป็นศูนย์ แต่ถ้าอนุภาคนั้นหยุดนิ่ง () ก็จะไม่มีแรงกระทำต่ออนุภาคเช่นกัน แต่เมื่อความเร็วของอนุภาคตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก () แรงที่กระทำต่ออนุภาคจะมากที่สุด

สนามแม่เหล็กของลวดตัวนำตรง
เมื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำตรง จะเกิดสนามแม่เหล็กรอบลวดตัวนำ ทิศของสนามแม่เหล็กหาได้จาก กฎมือขวา โดยกำมือขวารอบลวดตัวนำตรงให้หัวแม่มือชี้ไปทางทิศของกระแสไฟฟ้า ทิศการวนของนิ้วทั้งสี่ คือ ทิศของสนามแม่เหล็ก ดังรูป เมื่อกลับทิศของกระแสไฟฟ้า ทิศของสนามแม่เหล็กจะเปลี่ยนไปด้วย
การใช้กฎมือขวาหาทิศของสนามแม่เหล็กของลวดตัวนำตรง
ถ้าผ่านกระแสไฟฟ้าไปในลวดตัวนำที่ถูกดัดเป็นวงกลม จะเกิดสนามแม่เหล็กรอบ ๆ ลวดตัวนำนั้น การหาทิศของสนามแม่เหล็กยังคงใช้กฎมือขวา โดยการกำลวดตัวนำแต่ละส่วนจะได้ทิศของสนามแม่เหล็กของลวดตัวนำ
สนามแม่เหล็กของโซเลนอยด์
เมื่อนำลวดตัวนำที่มีฉนวนหุ้มมาขดเป็นวงกลมหลาย ๆ วง เรียงซ้อนกันเป็นรูปทรงกระบอก ขดลวดที่ได้นี้เรียกว่า โซเลนอยด์ เมื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านโซเลนอยด์ จะมีสนามแม่เหล็กเกิดขึ้น การหาทิศของสนามแม่เหล็กใช้วิธีการกำมือขวาแบบเดียวกับการหาทิศของสนามแม่เหล็กของลวดตัวนำวงกลม ปลายขดลวดด้านที่สนามแม่เหล็กพุ่งออกจะเป็นขั้วเหนือ และอีกปลายหนึ่งซึ่งสนามแม่เหล็กพุ่งเข้าจะเป็นขั้วใต้ ดังรูป 
สนามแม่เหล็กของโซเลนอยด์
สนามแม่เหล็กที่เกิดจากโซเลนอยด์มีค่าสูงสุดที่บริเวณแกนกลางของโซเลนอยด์และขนาดของสนามแม่เหล็กนี้จะมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อกระแสไฟฟ้าเพิ่ม หรือจำนวนรอบของขดลวดเพิ่ม
สนามแม่เหล็กของทอรอยด์
เมื่อนำลวดตัวนำที่มีฉนวนหุ้มมาขดเป็นวงกลมหลาย ๆ รอบเรียงกันเป็นรูปทรงกระบอกแล้วขดเป็นวงกลม ขดลวดที่ได้นี้เรียกว่า ทอรอยด์ เมื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่าน จะเกิดสนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์ ซึ่งหาทิศของสนามได้ด้วยการกำมือขวารอบแกนของทอรอยด์ ให้นิ้วทั้งสี่วนตามทิศของกระแสไฟฟ้า นิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศของสนามแม่เหล็ก ดังรูป  สนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์มีค่าไม่สม่ำเสมอ โดยสนามแม่เหล็กที่ขอบด้านในมีค่าสูงกว่าสนามแม่เหล็กที่ขอบด้านนอก
สนามแม่เหล็กภายในทอรอยด์

เนื่องจากกระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำเกิดจากการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนอิสระด้วยความเร็วลอยเลื่อน ดังนั้นเมื่อลวดตัวนำวางตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก จะเกิดแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนอิสระเหล่านี้ตามสมการ  เนื่องจากอิเล็กตรอนอิสระอยู่ภายในลวดตัวนำ ดังนั้นแรงที่เกิดขึ้นจึงทำให้ลวดตัวนำเคลื่อนที่ในทิศของแรงนั้น
ถ้าประจุไฟฟ้า เคลื่อนที่ผ่านภาคตัดขวางของตัวนำในเวลา  จากนิยามของกระแสไฟฟ้า เชียนได้ว่า 
ถ้าให้ เป็นระยะทางที่ประจุไฟฟ้า เคลื่อนที่ได้ในเวลา  จะได้  ดังนั้น
----(17)
สมการที่ (17)  เท่ากับความยาวของลวดช่วงที่อยู่ในสนามแม่เหล็ก ทิศของแรงหาได้จากการกำมือขวาให้นิ้วทั้งสี่ชี้ทิศของกระแสไฟฟ้า นิ้วหัวแม่มือจะชี้ทิศของแรง

ถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำขนานทั้งสองเส้นมีทิศเดียวกัน แรงระหว่างลวดเป็นแรงดูด แต่ถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำขนานทั้งสองมีทิศตรงกันข้าม แรงระหว่างลวดเป็นแรงผลัก  ซึ่งสามารถวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้

พิจารณาลวดตัวนำ ab และ cd ที่วางขนานกัน เมื่อลวด ab มีกระแสไฟฟ้า  ผ่านจะมีสนามแม่เหล็ก เกิดขึ้นรอบลวด ab ดังนั้นมีลวด cd จะอยู่ในสนามแม่เหล็ก  ดัวยเหตุนี้ เมื่อกระแสไฟฟ้า ผ่านลวด cd ในทิศเดียวกับ  จะเกิดแรง  กระทำต่อลวด cd ดังรูป 37 ก ในขณะเดียวกัน ลวด ab ก็อยู่ในสนามแม่เหล็ก ที่เกิดจากลวด cd และจะมีแรง กระทำต่อลวด ab ด้วย ดังรูป  ข เพราะ   และ  มีทิศตรงกันข้าม ดังนั้นแรงระหว่างลวดทั้งสองนี้จึงเป็นแรงดึงดูด ดังรูป  ค 
ในทำนองเดียวกัน ถ้ากระแสไฟฟ้าในลวดตัวนำขนานทั้งสองมีทิศตรงกันข้าม แรงระหว่างลวดทั้งสองเป็นแรงผลัก ดังรูป  ก-ค
แรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าในทิศเดียวกัน
แรงระหว่างลวดตัวนำสองเส้นที่ขนานกันและมีกระแสไฟฟ้าในทิศตรงกันข้าม

พิจารณาขดลวดตัวนำรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก PQRS วางในสนามแม่เหล็ก โดยระนาบของขดลวดขนานกับทิศของสนามแม่เหล็ก เมื่อให้กระแสไฟฟ้าผ่านขดลวด ดังรูป จะพบว่าลวดส่วน QR และ SP มีทิศของกระแสไฟฟ้าขนานกับสนามแม่เหล็ก จึงไม่เกิดแรงกระทำต่อลวดสองส่วนนี้ แต่ในลวดส่วน PQ และ RS ทิศของกระแสไฟฟ้าตั้งฉากกับทิศสนามแม่เหล็ก จึงเกิดแรงกระทำต่อลวดสองส่วนนี้ แต่แรงทั้งสองนี้มีขนาดเท่ากันและทิศตรงกันข้ามจึงเป็นแรงคู่ควบ และหาโมเมนต์ของแรงคู่ควบได้ โดยพิจารณา ดังรูป
แรงที่กระทำต่อขดลวดในสนามแม่เหล็ก
ภาคตัดขวางของขดลวด แสดงแรงคู่ควบที่กระทำต่อลวอ PQ และ RS
จากรูป  ให้ความยาว PS = QR = และความยาว PQ = RS = ดังนั้นแรงกระทำที่เกิดขึ้นกับลวดส่วน PQ และ RS จึงมีค่าเท่ากับ โมเมนต์ของแรงคู่ควบหาได้ดังนี้
เมื่อเกิดโมเมนต์ของแรงคู่ควบ ขดลวด PQRS ในรูปนี จะหมุนทวนเข็มนาฬิกา
แรงคู่ควบที่กระทำต่อขดลวดขณะทำมุม  กับ 
พิจารณาระนาบของขดลวด PQRS ทำมุม  กับสนามแม่เหล็ก  ดังรูป โมเมนต์ของแรงคู่ควบหาได้ดังนี้
ถ้าขดลวดมีลวดพัน N รอบ จะได้



กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำและแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
กระแสเหนี่ยวนำ  จากการศึกษาเมื่อมีกระแสไฟฟ้าผ่านลวดตัวนำ จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหรือ
ฟลักซ์แม่เหล็กรอบลวดตัวนำนั้น ในทางกลับกันฟลักซ์แม่เหล็กก็น่าจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นบ้าง
ซึ่งความคิดนี้  Michael  Faraday นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษได้ค้นพบ และสรุปผลว่า
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็ก ณ บริเวณใดการเปลี่ยนฟลักซ์แม่เหล็กนี้จะเหนี่ยวนำให้เกิดกระแส
ไฟฟ้าขึ้นในตัวนำที่วางอยู่ในบริเวณนั้น เรียกผลที่เกิดขึ้นว่า การเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า
(electromagnetic induction) และเรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดจากวิธีการนี้ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นบนเส้นลวดตัวนำที่เคลื่อนที่ตัดเส้นแรงแม่เหล็ก
เป็นที่ทราบกันแล้วว่า ภายในลวดตัวนำมีอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อให้ลวดตัวนำนี้
เคลื่อนที่ในแนวตั้งฉากกับฟลักซ์แม่เหล็ก จะมีผลทำให้อิเล็กตรอนอิสระที่อยู่ภายในลวดตัวนำ
เคลื่อนที่ด้วย ดังนั้นจึงเกิดแรงกระทำต่ออิเล็กตรอนให้เคลื่อนที่จากปลาย A ไปปลาย B  ดังรูป1
หรือเกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นในลวดนี้ในทิศจาก B ไป A เรียกกระแสที่เกิดขึ้นจากการนี้ว่า  
 กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
                                     รูป 1 การเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในเส้นลวดตรง
จากการเกิดกระแสไฟฟ้าผ่านจาก B ไป A  จึงเสมือนกับมีความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างปลาย A กับ B  ถ้าต่อลวดตัวนำนี้ให้ครบวงจร
ปลายทั้งสองของลวดตัวนำจะทำหน้าที่เป็นแหล่งจ่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เรียกว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ
จากการทดลองและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง พบว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ  และแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ จะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับ
1.อัตราเร็วของลวดตัวนำ
2.ขนาดของสนามแม่เหล็ก
3.ความยาวของเส้นลวด
การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดในเส้นลวดตัวนำเมื่อต่อครบวงจร หาได้จาก กฎการกำมือขวา คือ ให้กำมือขวาจาก
 ไปยัง    นิ้วหัวแม่มือชี้ตั้งฉากกับนิ้วทั้งสี่ จะแสดงทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในเส้นลวด
กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดในขดลวดตัวนำ  ในการศึกษาเรื่องกระแสเหนี่ยวนำถ้าพิจารณาขดลวดตัวนำเป็นขดลวด
รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก เคลื่อนที่ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

รูป 2 ขดลวดตัวนำเคลื่อนที่ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก

ให้ขดลวด PQRS  หมุนรอบแกน XY ในทิศทวนเข็มนาฬิกา เมื่อเราพิจารณาลวดตัวนำ PQ  และ RS จะเห็นว่า ลวด PQ  และ RS
เคลื่อนที่ตัดฟลักซแม่เหล็กในทิศลงและขึ้นตามลำดับจะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ I ดังรูป 2  โดยทิศของกระแสไฟฟ้าจะอยู่ในทิศ
จาก P ไป Q และจาก R ไป S ตามลำดับ สำหรับลวดส่วน PS  และ QR นั้นเคลื่อนที่ขนานกับทิศสนามโดยไม่ตัดฟลักซ์แม่เหล็ก
จึงไม่เกิดกระแสเหนี่ยวนำบนลวดส่วนนี้ แต่เนื่องจากลวด PS  และ QR เป็นตัวนำที่ต่อกับส่วน PQ และ RS กระแสเหนี่ยวนำ
บน PQ และ RS จึงผ่านจาก S  ไป  P  และ Q ไป R ด้วยถ้าต่อวงจรภายนอกครบวงจร
ถ้านำขดลวดตัวนำขดหนึ่ง ต่อเข้ากับแอมมิเตอร์ที่สามารถวัดกระแสค่าน้อยๆได้และนำขดลวดตัวนำนี้เคลื่อนเข้าใกล้แท่งแม่เหล็ก
แล้วดึงออกพบว่า ขณะที่ขดลวดตัวนำเคลื่อนที่เข้าหาและออกห่างจากแท่งแม่เหล็ก จะมีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้นซึ่งสังเกต
ได้จากการหมุนของเข็มชี้ของแอมมิเตอร์ ส่วนในขณะที่ขดลวดตัวนำอยู่นิ่งจะไม่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำนี้เกิดขึ้น
ในทำนองเดียวกัน ถ้าให้ขดลวดตัวนำที่ต่อกับแอมมิเตอร์อยู่กับที่ แล้วเคลื่อนแท่งแม่เหล็กเข้าใกล้แล้วดึงออกจะพบว่ามีกระแสไฟฟ้า
เหนี่ยวนำเกิดขึ้นในขณะที่แท่งแม่เหล็กเคลื่อนที่เท่านั้น  ส่วนในขณะที่แท่งแม่เหล็กหยุดนิ่งจะไม่เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำเช่นกัน
กฎของฟาราเดย์   มีใจความว่า “เมื่อมีฟลักซ์แม่เหล็กที่มีค่าเปลี่ยนแปลงผ่านขดลวดตัวนำ จะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำเกิดขึ้น
ในขดลวดตัวนำนั้น
รูป 3 ขดลวดตัวนำเคลื่อนที่เข้าหาแท่งแม่เหล็ก
เราสามารถใช้กฎของฟาราเดย์อธิบายการเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวดสี่เหลี่ยมซึ่งหมุนตัดฟลักซ์แม่เหล็กในแนวตั้งฉาก
กับทิศสนามแม่เหล็ก โดยเริ่มพิจารณาจาก เมื่อระนาบของขดลวดอยู่ในแนวเดียวกับสนามแม่เหล็ก ฟลักซ์ที่ผ่านขดลวดมีค่าเป็นศูนย์
และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด  เมื่อขดลวดหมุนจากตำแหน่งเริ่มต้นระนาบของขดลวดจะทำมุมกับ
สนามแม่เหล็ก  ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวดจะมีค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีค่าสูงสุดเมื่อระนาบของขดลวดตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก
สรุปก็คือในช่วงการหมุนของขดลวดที่ระนาบขดลวดกวาดมุมไป 90 องศาจากตำแหน่งเริ่มต้นนี้ฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด
จะมีค่าเปลี่ยนแปลงจากค่าศูนย์ถึงค่าสูงสุด ดังนั้นจะเกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวด
รูป 4 แสดงฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด PQRS เมื่อระนาบขดลวดทำมุมต่าง ๆ กับสนามแม่เหล็ก
การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวด   การหาทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวดตัวนำหาได้จากกฎของเลนซ์
ซึ่งมีใจความว่า แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำในขดลวดจะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำในทิศที่จะทำให้เกิดฟลักซ์แม่เหล็กใหม่
ขึ้นมาต้านการเปลี่ยนแปลงของฟลักซ์แม่เหล็กเดิมที่ตัดผ่านขดลวดนั้นขดลวดตัวนำ P วางอยู่ระหว่างขั้วแม่เหล็กไฟฟ้า ดังรูป 5 ก
ถ้าสนามแม่เหล็กในบริเวณขดลวดมีค่าสม่ำเสมอเท่ากับ   ดังรูป 5 ข ต่อมาเพิ่มกระแสไฟฟ้า ทำให้สนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ
มีค่าเพิ่มขึ้นเป็น  ดังรูป 5 ค และ ง

รูป 5  แสดงการเปลี่ยนแปลงฟลักซ์แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ

รูป 6 แสดงทิศของ กับ 
สนามแม่เหล็กที่เพิ่มขึ้นมีค่าเท่ากับ  =  ดังรูป 6ก แสดงว่าฟลักซ์แม่เหล็กที่ผ่านขดลวด P มีค่าเปลี่ยนแปลงทำให้เกิด
กระแสเหนี่ยวนำในขดลวด P ในทิศที่ทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก   ซึ่งมีทิศทางตรงข้ามกับดังรูป 6ข ตามกฎของเลนซ์
ทิศของกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำดังรูป 7ก ในทำนองเดียวกันถ้าสนามแม่เหล็กมีค่าลดลง ก็จะเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ ดังรูป 7 ข
รูป 7 การเกิดกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น